ปัจจุบันทรัพยากรน้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของทั้งมนุษย์ สัตว์ พืช โดยมีความต้องการน้ำมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปีตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งน้ำยังเป็นปัจจัยที่สำคัญและมี ความจำเป็นต่อการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการน้ำอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดการใช้น้ำด้วยความประหยัดและคุ้มค่า และเพื่อไม่ให้เกิดการขาดแคลนน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างภาคอุตสาหกรรมและ ชุมชนรอบข้าง จากสภาพปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำดังกล่าว สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงได้มุ่งเน้นการด้าเนินงานเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ และพัฒนาประสิทธิภาพทั้งทางด้านบุคลากร และ เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถพัฒนาตนเองและมีการใช้ทรัพยากรน้ำได้อย่างคุ้มค่า รวมถึงการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมใ นการพิจารณาหาแนวทางลดปริมาณการใช้ทรัพยากรน้ำให้ได้มากที่สุด เพื่อให้การพัฒนาอุตสาหกรรม เป็นไปอย่างยั่งยืน โดยการนำแนวคิดการประเมินวอเตอร์ฟุตพรินต์ (Water Footprint) มาประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม
วอเตอร์ฟุตพรินต์ (Water Footprint) เป็นเครื่องมือด้านสิ่งแวดล้อมในการประเมินปริมาณการใช้น้ำทั้งทางตรงและทางอ้อมของผลิตภัณฑ์ โดยนิยมวัดในหน่วยของปริมาณน้ำที่ใช้ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ (เช่น ลิตร/ตันผลิตภัณฑ์) หลักการการประเมินฯ ยึดหลักตามแนวทางของ มาตรฐาน ISO 14046 ซึ่งใช้พื้นฐานของหลักการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment : LCA) ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การใช้งาน และการกำจัดเศษซากผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน ผลประโยชน์จากการประเมิน Water Footprint ทำให้ทราบปริมาณการใช้น้ำและการเกิดน้ำที่เสื่อมคุณภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม รู้ถึงความต้องการใช้น้ำในกระบวนการผลิตและหาจุด hot spot ของการใช้น้ำของบริษัท เพื่อนำมา หาแนวทางในการลดการใช้น้ำและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งจากกระบวนการผลิตและจากช่วงการใช้งานของผลิตภัณฑ์ส่งผลให้เกิดการแข่งขันทางการตลาดโดยการปรับเปลี่ยนและพัฒนากระบวนการผลิตและเทคโนโลยีเพื่อ หาแนวในทางในการปรับปรุงหรือส่งเสริมกระบวนการผลิตให้มีการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน