วอเตอร์ฟุตพรินต์ (Water Footprint)
คือ เป็นเครื่องมือด้านสิ่งแวดล้อมที่ช่วยในการประเมินปริมาณการใช้น้ำทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อบ่งชี้ปริมาณความต้องการใช้น้ำ โดยสามารถวิเคราะห์ได้หลายระดับขึ้นอยู่กับขอบเขตที่ต้องการศึกษา เช่น ขอบเขตของกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ ขอบเขตขององค์กร เป็นต้น ดังนั้น Water Footprint จึงสามารถนำมาใช้ในการช่วยวิเคราะห์และประเมินปริมาณการใช้น้ำของภาคอุตสาหกรรมเพื่อนำมาหาแนวทางการปรับปรุงหรือส่งเสริมการผลิตให้มีการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีคุณค่า เกิดประโยชน์สูงสุด และช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ประกอบกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ และได้นำมาเป็นส่วนหนึ่งในตลาดการค้าโลก ซึ่งภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมในการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมถึงประเด็นการใช้ทรัพยากรน้ำที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ผู้บริโภคสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำได้ โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีค่า Water Footprint น้อย ที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นมีการใช้น้ำในกระบวนการผลิตหรือการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ หลักการของการประเมินวอเตอร์ฟุตพรินต์ยึดหลักตามมาตรฐานสากล ISO 14046:2014 Environmental – Water Footprint – Principles, Requirements and Guidelines ซึ่งใช้พื้นฐานการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment : LCA) ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การใช้งาน และการกำจัดเศษซากผลิตภัณฑ์หลังการใช้งานโดยมีกรอบวีธีการประเมิน (methodological framework)